สารในชีวิตประจำวัน
สาร หมายถึง สิ่งที่มีองค์ประกอบอย่างเดียว มีสมบัติเฉพาะตัว ไม่สามารถแบ่งแยก
ให้เป็นส่วนอื่นๆ ที่มีองค์ประกอบและสมบัติต่างไปจากเดิม เช่น อากาศ เกลือ น้ำตาล เป็นต้น
ในการจำแนกสารต้องใช้เกณฑ์ ดังนี้
เกณฑ์ในการจำแนกสาร
สถานะของสารแบ่งเป็น 3 สถานะ
1. ของแข็ง : รูปร่างคงที่ อนุภาคเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบและอยู่ชิดกันมาก มีแรง
ยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมาก อนุภาคเคลื่อนที่ไม่เป็นอิสระ
2. ของเหลว : รูปร่างไม่คงที่ เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ อนุภาคเรียงตัวกันอย่างไม่เป็นระเบียบและอยู่ไม่ชิดกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลไม่มาก อนุภาคเคลื่อนที่ได้ในระยะสั้นๆ
3. แก๊ส : รูปร่างไม่คงที่ เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ อนุภาคอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ห่างกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย อนุภาคเคลื่อนที่เป็นอิสระ
ลักษณะเนื้อสาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. สารเนื้อเดียว หมายถึง สารที่มีเนื้อสารกลมกลืนกันมองเห็นเป็นเนื้อเดียวตลอด เช่น น้ำตาล เกลือ เป็นต้น โดยที่สารเนื้อเดียวมีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียวหรือมากกว่า 1 ชนิดก็ได้
2. สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่มีเนื้อสารไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน สามารถสังเกตและบอกได้ว่ามีสารองค์ประกอบมากกว่า 1 ชนิด สมบัติของสารไม่เหมือนกันหมดทั่วทุกส่วน เช่น น้ำโคลน
การละลายน้ำ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สารที่ละลายน้ำได้ดี เป็นสารที่ละลายและผสมกลมกลืนกับน้ำได้ดี เช่น น้ำตาลทราย เป็นต้น
2. สารที่ละลายน้ำได้บ้าง เป็นสารที่ประกอบขึ้นจากสารหลายชนิด โดยสารบางชนิดสามารถละลายน้ำได้ แต่สารบางชนิดไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น สบู่ เป็นต้น
3. สารที่ละลายน้ำไม่ได้ เป็นสารที่เมื่อผสมกับน้ำแล้วตั้งทิ้งไว้ให้อยู่นิ่ง จะแยกตัวออกจากน้ำ เช่น น้ำมัน
ความเป็นกรด-เบส ของสารแบ่งเป็น 3 ประเภท
1. สารที่เป็นกรด
สารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
2. สารที่เป็นเบส
สารที่เปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน
3. สารที่เป็นกลาง
สารที่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
สี จำแนกประเภทโดยสารที่มีสีเดียวกัน จำแนกไว้ในกลุ่มเดียวกัน
การนำไฟฟ้า ของสารแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. สารที่สามารถนำไฟฟ้าได้ เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า เช่น ลวด แท่งเหล็ก เป็นต้น
2. สารที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ เรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า เช่น ไม้ แก้ว ยาง พลาสติก เป็นต้น
การนำความร้อน ของสารแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. สารที่สามารถนำความร้อนได้ เรียกว่า ตัวนำความร้อน เช่น อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นต้น
2. สารที่ไม่สามารถนำความร้อนได้ เรียกว่า ฉนวนความร้อน เช่น พลาสติก ไม้ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของสาร เกิดขึ้นเมื่อสารได้รับพลังงานความร้อน (เพิ่มอุณหภูมิ) หรือคายพลังงานความร้อน (ลดอุณหภูมิ) ทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะ
การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว เกิดเมื่ออนุภาคของของแข็งได้รับ
ความร้อน ทำให้อนุภาคของของแข็งซึ่งเดิมจัดเป็นระเบียบเกิดการสั่นและถ่ายเทพลังงานจลน์ให้แก่กันจนถึงภาวะหนึ่ง อนุภาคมีพลังงานสูงพอที่จะเคลื่อนที่ออกจากกัน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจึงต่ำลง เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส เกิดเมื่ออนุภาคของของเหลวได้รับความร้อน ทำให้อนุภาคของของเหลว เกิดการสั่นและถ่ายเทพลังงานจลน์ให้แก่กันจนถึงภาวะหนึ่ง อนุภาคมีพลังงานสูงพอที่จะเคลื่อนที่ออกจากกันมากขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจึงต่ำลง เปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส
การเปลี่ยนสถานะเมื่อสารได้รับความร้อน (เพิ่มอุณหภูมิ)
- ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว
- ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส เรียกว่า การกลายเป็นไอ
- ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส เรียกว่า การระเหิด
การเปลี่ยนสถานะเมื่อสารคายความร้อน (ลดอุณหภูมิ)
- แก๊สเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกว่า การควบแน่น
- ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกว่า การเยือกแข็ง
- แก๊สเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกว่า การควบแน่น
การละลายน้ำของสาร เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการนำสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
มาผสมกันแล้วสารที่ผสมกันละลายเป็นเนื้อเดียว โดยที่สารที่มีปริมาณมาก เรียกว่า ตัวทำละลาย และสารที่มีปริมาณน้อยเรียกว่า ตัวละลาย
สมบัติการละลายของสาร
1. ความสามารถในการละลายของสารขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายและตัวละลาย
2. สารชนิดเดียวกันละลายในตัวทำละลายต่างชนิดกันได้แตกต่างกัน
3. สารละลายต่างชนิดกันละลายในตัวทำละลายชนิดเดียวกันได้แตกต่างกัน
การเกิดสารใหม่ เป็นการผสมสารตั้งแต่ 2 ชนิด ขึ้นไปแล้วให้สารทั้งสองทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างภายใน ได้เป็น สารใหม่ ที่มีสมบัติแตกต่างไปจากเดิม
การจำแนกประเภทของสาร
สารรอบตัวเราในชีวิตประจำวันมีการนำมาใช้ประโยชน์และสมบัติของความเป็นกรด-เบสของสารที่แตกต่างกัน
1. สารเจือปนในอาหาร หมายถึง สารที่ผสมอยู่ในอาหาร ได้จากการเติมลงไปขณะปรุงอาหารและได้จากธรรมชาติ สารเจือปนในอาหาร หรือเรียก สารปรุงแต่ง มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน
1.1 สารปรุงรส เป็นสารที่ช่วยปรุงแต่งรสชาติของอาหารให้ดีขึ้น
น้ำส้มสายชู ที่รับประทานได้มี 2 ชนิด คือ1. น้ำส้มสายชูแท้ ได้แก่ น้ำส้มสายชูหมัก น้ำส้มสายชูกลั่น และ2. น้ำส้มสายชูเทียม
น้ำส้มสายชูที่อันตราย ได้แก่ น้ำส้มสายชูปลอม ซึ่งเกิดจากการนำกรดกำมะถันเจือจางกับน้ำ
1.2 สารแต่งสี เป็นสารที่ใช้ปรุงแต่งอาหารให้มีสีสัน น่ารับประทาน สีแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สีจากธรรมชาติ และสีสังเคราะห์
1.3 สารแต่งกลิ่น เป็นสารที่ช่วยเพิ่มกลิ่นให้อาหาร ทำให้อาหารน่ารับประทาน เช่น กลิ่นมะลิ กลิ่นส้ม เป็นต้น
1.4 สารกันบูด เป็นสารที่เติมลงในอาหารเพื่อป้องกันการเน่าเสียของอาหาร ส่วนมากเป็นสารสังเคราะห์ มักใช้ในปริมาณเล็กน้อย
2. สารทำความสะอาด แบ่งเป็น สารที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย สารทำความสะอาดภาชนะ สารทำความสะอาดเสื้อผ้า สารที่ใช้ทำความสะอาดห้องน้ำ
3. สารกำจัดแมลงและศัตรูพืช เป็นสารเคมีที่ใช้กำจัดแมลงและศัตรูพืช มีความรุนแรงต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมถ้าใช้มากเกินไปจะเกิดการตกค้าง ถ้าร่างกายได้รับมากๆ จะเป็นอันตรายต่อสมอง ประสาท กล้ามเนื้อ และอวัยวะ ซึ่งสารกำจัดแมลงและศัตรูพืชอาจใช้สารจากธรรมชาติแทนได้ เช่น เมล็ดและผลสะเดา เมล็ดและผลยี่โถ เป็นต้น
ในชีวิตประจำวันการนำสารต่างๆ มาใช้เราต้องศึกษาข้อมูลและวิธีการใช้สารต่างๆ ให้เข้าใจก่อนใช้ เพื่อเราจะได้ใช้สารได้ถูกต้องกับการใช้งานและปลอดภัยต่อผู้ใช้ รวมทั้งปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและ
การแยกสาร
การแยกสารด้วยวิธีการหยิบออก เป็นวิธีการแยกสารที่เป็นของแข็ง ที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ขนาด หรือสี
การแยกสารด้วยการร่อนเป็นวิธีการแยกสารที่เป็นของแข็ง ที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยใช้อุปกรณ์ในการร่อน เช่น ตะแกรง เป็นต้น
การแยกสารด้วยการกรอง เป็นวิธีการแยกของแข็งที่ไม่ละลายน้ำออกจากของเหลว ซึ่งอาจกรองด้วย ผ้าขาวบาง กระดาษกรอง เช่น การใช้ผ้าขาวบางกรองกะทิ เพื่อแยกเศษผงกะลามะพร้าวและกากมะพร้าว ทำให้น้ำกะทิขาว สะอาดขึ้น เป็นต้น
การแยกสารด้วยการระเหยแห้ง เป็นวิธีการแยกของแข็งที่ละลายน้ำกลายเป็นเนื้อเดียวกับของเหลว โดยใช้ความร้อน เปลี่ยนสถานะสารที่เป็นของเหลวให้กลายเป็นไอจนหมดเหลือแต่สารที่เป็นของแข็ง เช่น การแยกเกลืออกจากน้ำ เป็นต้น
การแยกสารด้วยการระเหิด เป็นการแยกของแข็งที่ระเหิดได้กับของแข็งที่ระเหิดไม่ได้ออกจากกัน ของแข็งโดยปกติเมื่อได้รับความร้อนจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว แต่มีของแข็งบางชนิดเมื่อได้รับความร้อนจะเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส เช่น การบูร ลูกเหม็น เป็นต้น
ผลของสารต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
การนำสารต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันมาใช้ จะต้องศึกษาข้อมูลและวิธีการใช้สารต่างๆ ให้เข้าใจก่อนใช้ เพื่อจะได้ใช้สารได้ถูกต้องกับการใช้งานและปลอดภัยต่อผู้ใช้ รวมทั้งปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น